วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

โครงงานทัศนศิลป์

Get paid to share your links! หารายได้โดยการฝากไฟล์ให้คนโหลดกับเว็บadf.lyคลิกที่ป้ายแนะนำสมาชิกด้านบลเลย สอบถามวิธีอัปไฟล์ขึ้น0887481626




โครงงาน 
กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

 คณะผู้จัดทำโครงงาน 
           1.นายอำนาจ      ไฝชอบ                  
           2.นายทัศไนย   กองอุดม                     
             3. นายเทิด    พรมสา                            
          4.นายสมนึก   ฆารสินธุ์                      
                         5. นายณัฐพล    ภูใบบัง                                   

ครูที่ปรึกษาโครงงา
1.นางนิภาพร     ภูผาใจ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาศิลปะ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
 โครงงาน          กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
ผู้จัดทำ                1.นายทัศไนย   กองอุดม                     
                          2.นายเทิด    พรมสา                            
                          3.นายสมนึก   ฆารสินธุ์                      
                          4.นายณัฐพล    ภูใบบัง                                   
ครูที่ปรึกษา             นางนิภาพร     ภูผาใจ
โรงเรียน                      
บทคัดย่อ 
                        โครงงานศิลปะ ของการออกแบบและงานสร้างสรรค์จัดทำขึ้นเพื่อผู้ที่สนใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะการสร้างสิ่งแปลกใหม่ หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นสวยขึ้น ตามความคิดของตนเอง  ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่แล้วหรือเลือกใช้วัสดุใหม่

บทที่1 
บทนำ 
ที่มาและความสำคัญของการทำโครงงาน 
ศิลปะการออกแบบ  คือเอกลักษณ์ที่เราสามารถออกแบบเองได้  ตามจินตนาการของเราเอง และสามารถสร้างภาพขึ้นได้  โดยการเลียนแบบธรรมชาติ  สัตว์  บ้าน ฯลฯ  ที่เราเห็น
            วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
1)         มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ หรือจัดองค์ประกอบแบบที่ไม่มีใครคิดมาก่อน
2)         มีลักษณะเฉพาะตนเองไม่ซ้ำแบบใคร
3)         มีความคิดในลักษณะริเริ่ม  หรือสติปัญญาที่ทำให้เกิดความคิดที่แตกต่างจากผู้อื่น
4)         ผลงานที่สร้างมีความแปลกใหม่  มีคุณค่า  ดี  สวยงาม  และก่อให้เกิดสุนทรียภาพ
 ขอบเขตของการศึกษาโครงงาน
1.ศึกษาจากเอกสารเกี่ยวกับการออกแบบและงานสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
 2.ศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ
3.ศึกษาจากผู้รอบรู้เรื่องการออกแบบและงานสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
 4.ศึกษาจากวิชาศิลปะ
 5.ศึกษาจากงานที่เสนอเกี่ยวกับงานศิลปะ
 สถานที่ทำโครงงาน 
-  โรงเรียนเทศบาล๒วัดสว่างคงคา อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ระยะเวลา
ประมาณ16วัน รวม2สัปดาห์
เริ่ม23กันยายน2553-30กันยายน2553
 บทที่2 
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 
1.รายระเอียดที่เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์
2.รายระเอียดที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม
3.รายระเอียดที่เกี่ยวกับหนังสือศิลปะ
4.เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
5.เว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลศิลปะ
 บทที่3 
อุปกรณ์และวิธีการศึกษา 
อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา 
1.รายระเอียดที่เกี่ยวกับงานประติมากรรม
2.หนังสือสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
 3.สมุดหนังสือ
 4.เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
 5.เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
 6.คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
7.สมุดบันทึก
8.ปลิ้นเตอร์
9.กระดาษ
10.ปากา ดินสอ
วิธีการศึกษา
  1.ประชุมวางแผนโครงงาน
         2.ปรึกษาครูที่เขี้ยวชาญในเรื่องนี้
3.ศึกษาจากหนังสือ
4.ศึกษาจากเว็บไซต์
5.สอบถามจากผู้รอบรู้
 รายระเอียดโครงงาน 
ทัศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทัศนศิลป์คือการรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
ทัศนศิลป์เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศน์.. ศิลป์ นั้น
แนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา นั่นเอง
 ทัศนศิลป์แบ่งตามประเภท
วิจิตรศิลป์ 
จะเน้นด้านความงามเป็นสำคัญ เช่น ภาพลายไทย ภาพตามผนังวัด หรือภาพพุทธศิลป์ต่างๆ
ประยุกต์ศิลป์ 
ได้แก่ศิลปะที่สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่นสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม มัณฑณศิลป์ รวมทั้งเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้เป็นภาชนะ
พาณิชย์ศิลป์ 
ส่วนใหญ่เน้นในด้านเชิงธุรกิจการค้า ภาพโฆษณา บางครั้งจะไม่ตรงตามหลักการทางศิลปะตามที่ท่านอาจารย์ผู้รู้ด้านศิลปะได้สั่งสมบอกสอนกันมา
'หัตถกรรม (Handicraft') คือ งานช่างที่ทำด้วยมือหรืออุปกรณ์ง่าย ๆ อาศัยทักษะและเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก โดยทั่วไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและศาสนา สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก หรือผลิตด้วยเครื่องจักร ไม่เรียกว่าหัตถกรรม
การออกแบบและงานสร้างสรรค์
            1.         ความหมายของการออกแบบและงานสร้างสรรค์
                        การออกแบบ  หมายถึง  กระบวนการสร้างสรรค์ที่มีจุดมุ่งหมาย  เพื่อสนองความต้องการในการดำรงชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  โดยการนำทัศนธาตุมาเป็นส่วนประกอบแสดงผ่านสื่อ
วัสดุต่าง ๆ ให้มีความสวยงาม
                        การสร้างสรรค์  หมายถึง  การสร้างสิ่งแปลกใหม่ หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นสวยขึ้น ตามความคิดของตนเอง  ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่แล้วหรือเลือกใช้วัสดุใหม่
                        ความคิดสร้างสรรค์  มีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
                        1)         มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ หรือจัดองค์ประกอบแบบที่ไม่มีใครคิดมาก่อน
                        2)         มีลักษณะเฉพาะตนเองไม่ซ้ำแบบใคร
                        3)         มีความคิดในลักษณะริเริ่ม  หรือสติปัญญาที่ทำให้เกิดความคิดที่แตกต่างจากผู้อื่น
                        4)         ผลงานที่สร้างมีความแปลกใหม่  มีคุณค่า  ดี  สวยงาม  และก่อให้เกิดสุนทรียภาพ
            2.         กระบวนการสร้างสรรค์
 กระบวนการสร้างสรรค์   เป็นการเริ่มต้นจากกระบวนการคิด นำเอาข้อมูลที่เป็นประสบการณ์หรือแรงบันดาลใจอย่างใดอย่างหนึ่ง  จนเกิดเป็นความคิดรวบยอด  แสดงผ่านสื่อต่าง ๆ โดยใช้ทักษะ  วัสดุ  วิธีการ  ความชำนาญการ  แก้ไขจุดบกพร่อง  จนเป็นผลงานที่พอใจ โดยคำนึงถึงคุณค่าทางความงามด้วย
จิตรกรรม ( Painting)     เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน
 องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ
     1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
     2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
     3. ี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน
     งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร(Painter)
 งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
     1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพิ้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึผนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป

Picasso
     2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น
 ลักษณะของภาพจิตรกรรม
งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
     1. ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่

Cezanne
     2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
          2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความ เหมือนของใบหน้า
          2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคนหนึ่ง

van gogh
     3. ภาพสัตว์ ( Animals Figure) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะต่าง ๆ
     4. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ
          4.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )
          4.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape) 
          4.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)

Klimt, Gustav
     5. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย
     6. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาตินาๆ ชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่

Picasso
     7. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้ เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ
องศ์ประกอบศิลป์.วัสดุอุปกรณ์.การเขียนสีน้ำ
องค์ประกอบศิลป์ Element of Composition  
       เป็นส่วนประกอบพื้นฐานย่อยๆที่สำคัญของศิลปะ เมื่อนำมาประสานรวมกันก็จะเกิดเป็นรูปร่างให้ปรากฏเห็นได้ในงานจิตรกรรม   โดยใช้หลักการจัดวางในเรื่องของprinciple of composition มาสร้างสรรเป็นผลงามที่สวยงาม
จุด (Point) เป็นส่วนเริ่มต้นขององค์ประกอบศิลป์ เมื่อรวมตัวหรือใกล้กันจะเกิดอิทธิพล เกิดองค์ประกอบอื่น เช่น เส้น น้ำหนัก
เส้น (Line) เป็นร่องรอยการขูดขีดเกิดรูปร่าง รูปทรงหรือแสดงขอบเขตเส้นแต่ละประเภทให้ความรู้สึกแตกต่างกัน เช่น เส้นตรงรู้สึกสงบ เส้นโค้งรู้สึกเคลื่อนไหว
รูปร่าง (Shape) คือ เส้นเชื่อมวนต่อกันเป็นรูปร่าง มีลักษณะเป็นสองมิติ คือด้านกว้างกับด้านยาวแบ่งเป็นรูปร่างแบบเรขาคณิตและแบบอิสระ
รูปทรง (Form) ประกอบด้วยความกว้าง ยาว และความหนามีลักษณะเป็นสามมิติ ส่วนเนื้อที่ในอากาศมีปริมาตร
น้ำหนัก (Toue) คือ ระดับความเข้มของสีบนวัตถุ ใช้ประโยชน์ในงานจิตรกรรมมาก ช่วยเรื่องระยะ ความตื้นลึก ความรู้สึกหนักเบา
สี (Color) ในงานจิตรกรรมใช้สีวัตถุธาตุผสมเกิดเป็นสีต่างๆ ให้ความรู้สึกต่างๆกัน แบ่งเป็นวรรณะร้อน,เย็น มีอิทธิพลมากในงานจิตรกรรม
พื้นผิว (Texture) สร้างความรู้สึกจิตสัมผัสและการสัมผัส ให้อิทธิพลต้องความรู้สึกต่างๆในแต่ละลักษณะพื้นผิว
What Drawing  ตามพจนานุกรมศิลปะภาพวาดเส้นคือภาพซึ่งวาดเป็นเส้น  ซึ่งอาจมีความสมบูรณ์ในตัวเอง หรือ อาจเป็นเพียงเส้น  ร่างก็ได้ ้ หรืออาจแต่งเติมด้วยสีเพื่อสร้างแสงเงาให้เด่น  ชัดยิ่งขึ้น การสร้างภาพด้วยวิธีนี้ให้ผลได้หลายลักษณะ  ตามแต่เจตนา ของศิลปิน หรือจุดประสงค์ที่นำไปใช้เช่น  การวาดด้วยดินสอ (pencil Drawing)หรือถ่าน(CharcoalDrawing)ฯลฯ..
วาดเส้นเพื่ออะไร(what for)  ดรออิ้งเป็นวิชาพื้นฐานที่ทุกสถาบันทางศิลปะต้องสอน  และมักใช้เป็นวิชาที่ใช้ในการคัดเข้าเรียนต่อ ในสมัยก่อน  อาจวาดเพื่อเป็นการบันทึกภาพ การสรุปข้อมูล ศึกษา  รายละเอียดเพื่อการศึกษา ปัจจุบันถูกนำมาเป็นวิชา  สำคัญพื้นฐานในศิลปะทุกแขนงไม่ว่าจะจิตรกรรม  ประติมากรรมสถาปัตยกรรม หรือศิลปประยุกต์  มัณฑนศิลป์จะเห็นว่าเด็กที่เรียนสายเหล่านี้ต้องผ่าน  การเรียนและฝึกฝนมาจนชำนาญเพื่อไปเสริมกับราย  วิชาอื่นๆที่ต้องเรียนได้อย่างดีและกลมกลืน  บางคนถ้าเรียนศิลปะตั้งแต่เด็ก อาจต้องเรียน  วิชานี้ถึง 7 ปีกว่าจะจบปริญญาตรี เรียนแล้วเรียนอีก  วาดแล้ววาดอีก วาดหุ่นนิ่ง วาดทิวทัศน ซีสเคป  แลนด์สเคป วาดสัตว์ วาดพอร์ทเตรด  วาดฟิกเกอร์ แล้วก็ได้ประโยชน์ต่อวิชาอื่นจริงๆ  พอไปปั้นก็จะช่วยให้แม่นเข้าใจสัดส่วน กล้ามเนื้อ  ในวิชาเพ้นท์ก็ได้สัดส่วนแสงเงาเปอร์สเปคตีฟถูก  ม่มั่วคราวนี้พอมาประยุกต์เรียนในหลักสูตรของ  สายสามัญในเวลาที่จำกัดความสำคัญของระบบการเรียน จึงต้องปรับทุกๆอย่างให้เหมาะสมทั้งเกณฑ์และเนื้อหา
มีรูปแบบอะไรบ้าง(What patterns)  ถ้าจะจับรูปแบบใหญ่ๆในการแสดงออกของงานจิตรกรรม  และดรออิ้งน่าจะคล้ายกันหมายถึงไม่ได้มาดุกันตามภาพ  ที่เห็นว่าเป็นรูปคน รูปวิวรูปสัตว์ น่าจะนับที่โครงสร้างใหญ่ ่เป็นสัก3 แนวทางการแสดงออกคือ
1.แนวRealisticหรือรูปธรรมคือวาดแสดงรูปแบบที่พบเห็น  ตามลักษณะธรรมชาติโดยไม่ได้ ไปแปลงบิดเบือนอะไรจากของจริง
2.แนวSemiAbstractหรือกึ่งนามธรรมคือภาพมีการ  ตัดทอนลดรูปลดส่วนโดยอาจอาศัยรูปทรงรูปร่างจาก  ธรรมชาติมาเป็นส่วนบางทีเรียกแนวIdealismคือเป็น  ความคิดจินตนาการจากธรรมชาติหรือคิดคำนึง
3.แนวนามธรรม(abstract)ภาพในรูปแบบนี้ไม่ได้คำนึงหรือยึดรูปร่างของวัตถุในธรรมชาติเป็นที่ตั้งแต่จะเน้นการแสดงออกทางความงามควาเป็นสุนทรียภาพทางความความคิดอารมณ์ด้วยการอาศัยใช้ทัศนธาตุมาสื่อออกเป็นผลงานซึ่งอาจเรียกศิลปะไม่แสดงลักษณ์(non-representation art)

(what Tool)  ในภาคเรียนแรกเราจะเรียนรู้และฝึกวาด
ดรออิ้งกันแบบ  ง่ายๆและสรุปให้จบลงในเวลาอันสั้น เครื่องมือพื้นฐานก็มี
1.กระดานรองเขียน มีขายแบบกระดานขนาดใหญ่และ
ขนาดเล็กเลือกเอาแบบใหญ่นะจุดประสงค์คือโต๊ะเคลื่อนที่
นั่นเองเผื่อไปเขียนนอกห้องเรียน ห้องศิลปะของเรา
นักเรียนนั่งพื้นไม่มีกระดานเสร็จแน่
2.ตัวหนีบมีมากมายหลายอย่างจุดประสงค์ก็หนีบกระดาษ
เข้ากับกระดานรองไง 2ตัวน่าจะพอ
3.กระดาษปอนด์ประมาณ60-80ปอนด์หรือกระดาษปรู้ฟ
เลือกเอาเผื่อวาดสวยกระดาษปอนด์จะเก็บได้ทนกว่า
4.ดินสอ วาดผิดก็ลบได้ มีให้เลือกหลายเกรดแรเงา
ก็ดำหน่อยเช่น5b 6b ถ้าดำไม่พอก็ใช้EEซึ่งเราจะฝึก
คุมน้ำหนักกันในบทเรียนแรกๆ ส่วนอื่นๆ
เช่นยางลบ มีดเหลาดินสอหรือวัสดุอื่นๆเกรยอง ชาโคล
จะขอข้ามไป
บทที่4 
ผลการศึกษา 
1.สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ผู้ที่สนใจสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ได้ง่ายขึ้น
2.สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ง่ายขึ้น
3.เกิดจินตนาการให้กับผู้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
4.เกิดแรงบันดารใจให้แก่ผู้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
5.มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่
บทสรุป 
            การนำเสนอโครงงานเรื่องการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ทำให้ผู้สนใจและผู้ที่ฝึกหัดในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ได้ง่ายขึ้น และมี จินตนาการมากขึ้น และมีอารมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ที่นิมนวนทำให้จิตใจสงบขึ้นจากสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์และมีคความคิดมีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ได้มากขึ้น
 บทที่5 
ประโยชน์และข้อเสนอแนะจากการทำโครงงาน 
1.เพื่อเสนอในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่
2.เพื่อสอนให้มีความคิดในลักษณะริเริ่ม  หรือสติปัญญาที่ทำให้เกิดความคิดที่แตกต่างจากผู้อื่น
3.เพื่อศึกษาถึงจินตนาการของผู้สนใจ
 4.เพื่อเสนอผลงานกระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
 5.เพื่ออนุรักศิลปะการกระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น